เคล็ดลับในการฝึกพลังจิต (หมายถึง การทำให้จิตปลอดโปร่ง ไม่ใช่ทำให้คุณปล่อยพลังคลื่นเต่าได้)

      ตลอดการเดินทางในชีวิตของผม ผมมักจะค้นหาแรงบันดาลใจในการติดต่อกับพลังที่มีอยู่ในตัว ผมคิดเสมอว่า ถ้ามีใครคนหนึ่งสามารถประสบความสำเร็จได้ ความสำเร็จนั้นก็ซ่อนอยู่ในตัวผมเช่นกัน

      การเริ่มสร้างพลังที่ยิ่งใหญ่ พัฒนามาจากการสงบนิ่ง ไม่ว่าคุณจะอยากเป็นนินจา สายลับ หรือเป็นซุปเปอร์ฮีโร่ ควรเริ่มจากการเรียนรู้ที่จะอยู่อย่างเงียบๆ ซึมซับบรรยากาศรอบข้าง นั้นจะทำให้คุณมีวิสัยทัศที่ไกลขึ้น

1. อย่ากังวล
      เราจะมีพลังจิตที่เข้มแข็งได้อย่างไร หากเรามัวแต่กลัวและกังวล ความกังวลทำให้เราคิดแต่เรื่องในอดีตหรือเรื่องในอนาคตจนลืมสังเกตุสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ตรงหน้าเรา! ดังนั้น เราไม่ควรจะติดกับดักตัวเอง


      กลุ่มคนส่วนใหญ่ที่มัวแต่ยุ่ง เครียด จะเหมือนคนปิดตาที่เดินวนไปวนมา

      นี้เป็นหนึ่งในทางที่ดีที่สุด ที่จะปลดล็อคพลังจิตของเรา เราจะไม่เขวหากเรามีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน


2. ควบคุมจิตใจให้เย็นลงและหยุดคิด 
      เคล็ดลับของการหยุดคิด คือ เราจะมีพลังจิตเพิ่มมากขึ้น หลายๆคนคิดมาตลอด ในเรื่องคำตอบของชีวิต บางทีสิ่งที่เขาลืมคิด อาจเป็นความคิดที่ว่า "หยุดคิด" ก็เป็นได้

      ถ้าจิตใจของเราไม่ได้ถูกรบกวน เราจะมีความสามารถที่จะสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวคุณและตอบสนองได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

3. ให้ความสำคัญกับช่วงเวลาปัจจุบัน 
      อยู่ในปัจจุบันอย่างเต็มที่กับทุกความรู้สึกของเรา เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการสังเกตความจริง อ่านใจคนและสถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง หากฝึกจนชิน เราจะกลายเป็นผู้ที่ไม่เพ้อฝัน

      หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการเรียนรู้ที่จะให้จิตใจอยู่ในปัจจุบันคือ การนั่งสมาธิ

      หากคุณไม่ได้มีเวลาที่จะหาสถานที่ ที่เหมาะกับการนั่งสมาธิ เรามีเทคนิคช่วย ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็สามารถฝึกของจิตของคุณและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

      3.1 ในขณะที่คุณกำลังรอสาย หรือกำลังเบื่อในห้องเรียน/ห้องประชุม ให้คุณหยุดความคิดลง แล้วมองไปที่วัตถุชิ้นหนึ่ง เช่น ปากกา แล้วมองมัน จดจ่ออยู่กับมัน ราวกับว่า มีเพียงปากกาที่อยู่ในความคิดคุณ

      3.2 หลังจากที่คุณมีสมาธิขึ้นมาสักหน่อย ให้คุณมองไปรอบๆห้อง แล้วตอบคำถามตัวเอง 5 คำถาม คือ คุณเห็นอะไร คุณได้ยิงอะไร ได้กลิ่นอะไร และมีรสชาติอะไร

      3.3 เมื่อคุณผ่อนคลายมากขึ้น คุณจะพบว่า มีหลายๆคนรอบๆคุณกำลังเป็นในสิ่งที่คุณเคยเป็น คือ กำลังเครียด คุณจะมีความรู้สึกที่เบาสบายมากขึ้น

ที่มาของบทความ http://thespiritscience.net/2014/08/20/the-secret-to-becoming-psychic/

10 เรื่องที่นักวิทยาศาสตร์สงสัยมากที่สุดในโลก

10. มนุษย์ต่างดาว
      คาร์ล เซแกน กล่าวว่า "หากมนุษย์มีอยู่ในจักรวาล แสดงว่ายังมีสิ่งมีชีวิตที่ชาญฉลาดอยู่ในจักรวาล" เพียงแค่เราอยู่ไกลกัน

      แฟรงก์ เดรก นักดาราศาสตร์ผู้สร้างสมการทางคณิตศาสตร์ ที่จะคาดการจำนวนของดาวเคราะห์ดวงอื่นที่อาจมีชีวิตที่ชาญฉลาดในจักรวาล เขาพบว่า น่าจะพบดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิตที่ชาญฉลาดอยู่ 7,000,000,000 ดวง แต่จะมีประมาณ 1,000,000,000 ดวง ที่น่าจะเดินทางลัดอวกาศมาหาเราได้

      Enrico Fermi แย้งว่า ถ้ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่นอกโลกจริง ทำไมเรายังไม่เคยได้เห็นหลักฐานที่ชัดเจน มันไม่น่าจะเป็นไปได้ที่มีมนุษย์ต่างดาว เพราะเราไม่เคยได้รับการติดต่อเลย ไม่มีมนุษย์ต่างดาวที่อยากมาเที่ยวดาวโลกเลยหรือ?

9. The Tunguska Explosion
      ในปี 1908 ที่ประเทศรัสเซีย มีบางสิ่งบางอย่างสีฟ้าได้บินอบู่บนฟ้าและระเบิดในอากาศ ทำให้ต้นไม้ในบริเวณนั้นถูกไฟเผาเป็นบริเวณกว้าง มันระเบิดด้วยแรงอย่างไม่น่าเชื่อและยังไม่พบซากของสิ่งใดที่ตกลงมา ยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ ว่าอะไรทำให้เกิดการระเบิดในอากาศได้?



8. ปฏิสสารที่หายาก
      จากทฤษฎี สสารและปฏิสสารจะถูกสร้างขึ้นในเวลาเดียวกันและเหตุการณ์เดียวกัน เมื่ออนุภาคแบริออน ถูกสร้างขึ้น ปฏิอนุภาคก็จะถูกสร้างขึ้นเช่นกัน แม้ว่าเราสามารถที่จะสร้างมันขึ้นมาในห้องปฏิบัติได้ แต่เราไม่สามารถหามันได้ในจักรวาล ทำไมมันถึงไม่มีอยู่ในธรรมชาติ? เกิดอะไรขึ้น?

7. จิตสำนึก
      จิตสำนึกของเราทำงานอย่างไร? ความแตกต่างระหว่างภาพจำลองของจิตสำนึกและสิ่งที่จริงคืออะไร? วิธีการที่จิตสำนึกตระหนักถึงสิ่งต่างๆ ทำได้อย่างไร? เรามีคำถามมากมายเกี่ยวกับจิตสำนึก ทำให้เกิดการศึกษาทางวิทยาศาสตร์จำนวนมาก และการอภิปรายปรัชญาขึ้นมากมาย

สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์สงสัยมากที่สุดคือ จิตสำนึกหลังความตาย เป็นอย่างไร

6. สสารมืด / พลังงานมืด
      ด้วยเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีชั้นสูงของเรา เราได้พบพลังงานจำนวนมหาศาลอยู่ในจักรวาล ซึ่งพลังงานเหล่านี้ เราไม่สามารถมองเห็น นักวิทยาศาสตร์พบว่า สสารที่เรามองเห็น มีเพียงไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นอกนั้นเป็นสสารและพลังงานมืด

5. เวลา
      คุณลองนิยามเวลาโดยไม่ต้องใช้คำที่หมายถึงเวลา! ว่า จริงๆแล้วมันคืออะไร? มันเป็นภาพลวงตาหรือไม่? มันเป็นชนิดของสสารหรือมิติ? ถ้าทุกอย่างเกิดขึ้น แล้วมันจะอยู่ช่วงเวลาหนึ่งของเวลาหรือไม่?
กาล-เวลา
4. จุดเริ่มต้นของจักรวาล
      สิ่งที่สร้างบิ๊กแบงคืออะไร? พลังงานและสสารมาจากไหนในการเกิดบิ๊กแบง? พระเจ้าหรือแรง(Force)  ที่สร้างบิ๊กแบงขึ้น? ถ้าเป็นเช่นนั้น สิ่งที่สร้างแรงคือ? ต้นกำเนิดที่แท้จริงของจักรวาลของเราคืออะไร?

3. การสิ้นสุดของจักรวาล
      หากมีจุดเริ่มต้น แล้วจุดสิ้นสุดคืออะไร? และถ้าเป็นเช่นนั้น จะทำให้จักรวาลขยายตัวจนกว่าจะมีการกระจายออกไปจนทำให้มันละลายหายไป หรือจะยุบกลับมาที่จุดเริ่มต้นและเริ่มต้นใหม่?

2. จักรวาลคู่ขนาน (พหุภพ)
      มีจักรวาลคู่ขนานหรือไม่? ตัวของคุณใช้ชีวิตที่แตกต่างกันในอีกโลก มันจะเป็นไปได้ที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับใด ๆ ของพวกเขาในอนาคตหรือไม่
จักรวาลคู่ขนาน
1. ทฤษฎีสรรพสิ่ง
      นักวิทยาศาสตร์จะสามารถรวมกฎของฟิสิกส์ที่ดูเหมือนจะแตกต่างกันได้อย่างไร?

ที่มา :
http://thespiritscience.net/2014/10/28/10-mind-blowing-mysteries-of-the-universe/
http://th.wikipedia.org/ (หลายลิ้ง ได้เชื่อมโยงลิ้งไว้เรียบร้อยแล้ว)

วิธีการตรวจจับ 'คลื่นแรงโน้มถ่วงของไอสไตน์'

คลื่นแรงโน้มถ่วง ที่เสนอโดยไอสไตน์

      คลื่นแรงโน้มถ่วง เป็นคลื่นที่มองไม่เห็น ซึ่งมีอยู่ในโครงสร้างของพื้นที่และเวลา นักวิจัยกล่าวว่า มันอาจถูกตรวจพบได้โดยการมองหาดาวที่สดใส

      คลื่นลึกลับเหล่านี้ถูกนำเสนอเป็นครั้งแรกโดย Albert Einstein ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ขนาดของคลื่นแรงโน้มถ่วงขึ้นอยู่กับมวลของวัตถุนั้นๆ

      Barry McKernan, นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกันในนิวยอร์ก กล่าวว่า "คลื่นแรงโน้มถ่วงจะถูกปล่อยออกมาเนื่องจากการเร่งของมวล" คลื่นที่มีขนาดใหญ่มากๆ จะปล่อยออกมาจากมวลที่ใหญ่มากๆ เช่น กาแล็กซีที่มีหลุมดำกลมกลืนกับดาวอื่นๆ จะเกิดคลื่นแรงโน้มถ่วงมากกว่ากาแล็กซีที่ไม่มีหลุมดำ

      นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถสังเกตคลื่นแรงโน้มถ่วงได้โดยตรง แม้ว่านักวิจัยพยายามที่จะตรวจสอบ โดยใช้การทดลองที่เกี่ยวข้องกับเลเซอร์บนพื้นดินและในอวกาศ คลื่นแรงโน้มถ่วงตอบสนองกับสสารได้น้อยมากๆ -นั้นเป็นคำอธิบายว่า ทำไมการเห็นคลื่นเหล่านี้ในกาลอวกาศจึงเป็นเรื่องยาก

      ในปัจจุบัน McKernan และเพื่อนร่วมงานของเขา ได้แสดงให้เห็นว่า คลื่นแรงโน้มถ่วงมีการตอบสนองต่อสสารมากกว่าที่เราคิด "กาลเวลาผ่านไป 100 ปี ตั้งแต่ไอสไตน์ได้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ปัจจุบัน ความรู้เหล่านั้นยังคงทำให้บางคนประหลาดใจอยู่" และเขายังกล่าวกับ Space.com ว่า "เราเติบโตมาเป็นนักดาราศาสตร์ที่คิดว่า ปฏิกิริยาระหว่างคลื่นแรงโน้มถ่วงกับสสารมีค่าน้อยมากๆ จนมันแทบไม่มีความสำคัญเลย นั้นเป็นเรื่องที่ไม่จริง!"

      หนึ่งในความท้าทายคือ การคำนวณของแสงดาวบนฟ้า มาจากจากคลื่นแรงโน้มถ่วงหรือปัจจัยอื่นๆ นักวิจัยแนะนำจุดสำคัญในการสังเกตุผลกระทบของคลื่นความโน้มถ่วง คือการมองภาพรวมของกลุ่มดาวขนาดใหญ่

เครื่องตรวจจับในสภาพปกติ
      เมื่อประชากรของดาวอยู่ใกล้กับระบบของการรวมหลุมดำ และมีการบดด้วยคลื่นแรงโน้มถ่วง เราคิดว่าดาวที่มีมวลมากจะสว่างขึ้นก่อน มันเป็นเหมือนการเล่นเปียนโน โดยเริ่มต้นด้วยการโหมโรงต่ำ

      ในขณะที่หลุมดำเข้าใกล้ดาวมากขึ้น จะเกิดคลื่นความโน้มถ่วงที่มีความถี่เพิ่มมากขึ้น และเราจะเห็นแสงสว่างของดาวขนาดเล็ก ถ้าเราเห็นเหตุการณ์ที่ดาวขนาดเล็กเปร่งแสงหลังจากที่ดาวที่ใหญ่เปร่งแสง นั้นอาจเป็นสัญญาณของคลื่นความโน้มถ่วง


ดาวผ่านบริเวณแถวหลุมดำ
เครื่องตรวจจับคลื่น อาจพบว่า "ความเข้มคลื่นมีค่าลดลง"
      งานวิจัยนี้ เป็นการตรวจสอบคลื่นความโน้มถ่วงโดยทางอ้อม ถ้านักวิทยาศาสตร์พัฒนาการทำงานของเครื่องตรวจจับคลื่นแรงโน้มถ่วง เมื่อดาวเดินทางผ่านด้านหน้าของคลื่นความโน้มถ่วง (เช่น แถวหลุมดำ) เครื่องตรวจจับอาจจะพบว่า ความเข้มของคลื่นมีค่าลดลง

      "เรามักจะคิดว่าดาวที่ถูกบดบังโดยบางสิ่ง เช่นดวงดาวต่างๆ แต่ลืมนึกไปว่า คลื่นแรงโน้มถ่วงก็สามารถถูกดาวบดบังได้เช่นกัน " McKernan กล่าว

      McKernan และเพื่อนร่วมงาน คือ Saavik Ford, Bence Kocsis และ Zoltan Haiman ได้เขียนอธิบายถึงวิธีการค้นหานี้ ในวันที่ 22 กันยายน ในวารสาร "Monthly Notices of the Royal Astronomical Society: Letters"

ที่มา http://www.space.com/27510-gravitational-wave-detection-method.html
(วิธีการตรวจจับคลื่นแรงโน้มถ่วง)

ระบบดาวคู่ ( Binary star )




      ดาวคู่ (อังกฤษ: Binary star) คือ ดาวฤกษ์สองดวงโคจรรอบจุดศูนย์กลางมวลของทั้งสอง การวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ ชี้ให้เห็นว่า ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในดาราจักรทางช้างเผือกของเรา เป็นระบบดวงเดี่ยวมากกว่าระบบดาวคู่  ดาวคู่ไม่เหมือนกับกับดาวแฝด (Double star)




ส่วนใหญ่จะร้อนมาก และมีแสงสว่างสูง จะอยู่กันเป็นคู่


ดาวที่มวลมากกว่า จะมีชีวิตที่สั้นและมีวิวัฒนาการฃรวดเร็วกว่า


ภาพแสดงให้เห็นชีวิตคู่ที่สดใส


ดาวดวงใหญ่กว่า ดึงดูดวัสดุจากอีกดวงดาวที่ถูกดูดจะหมุนเร็วขึ้น
และเปลี่ยนรูปร่าง
ดาวหลักกลายมาเป็นดาวขนาดเล็ก
และร้อนกว่า และสูญเสียมวลไป


ดาวหลักระเบิดออกมา


เมื่อไหร่ที่ก้อนเมฆจะมีรูปร่างเป็นฟอง? (เมฆ Mammatus)

เมฆ Mammatus ที่ Nebraska
โดยปกติ เมฆจะมีรูปร่างแบนเป็นแผ่น ก้อนเมฆที่เป็นฟองเกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้รวมกัน
  1. อากาศร้อนชื้นลอยขึ้นไปที่สูง แล้วอากาศดังกล่าวเย็น จึงกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ
  2. อุณหภูมิที่เหมาะสม
  3. ความสูงที่เหมาะสม

ชื่อบทความ Mammatus Clouds over Nebraska
Image Credit & Copyright: Jorn Olsen Photography

พบวงแหวนของดาวเคราะห์น้อย + วิธีการค้นหาวงแหวน | ดาราศาสตร์


ดาวเคราะห์น้อยก็สามารถมีวงแหวนได้!

      ในการค้นพบที่น่าประหลาดใจ ของดาวเคราะห์น้อยอันห่างไกล ชื่อ "10199 Chariklo" เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ดาวเคราะห์น้อย Chariklo

      นักดาราศาสตร์พบว่า มันมีวงโคจรอย่างน้อย 2 วง เส้นผ่าศูนย์กลางของดาวเคราะห์น้อยนี้(Chariklo) ประมาณ 250 กิโลเมตร ทำให้มันเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มเซนทอร์ (Centaur คือ วัตถุมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างดาวเคราะห์กับดาวหาง เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็ก อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก)

      ปัจจุบัน เป็นที่รู้จักกันดีว่า วัตถุที่มีขนาดเล็กก็สามารถมีวงแหวนได้เช่นกัน เซนทอร์เป็นดาวเคราะห์น้อยที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ระหว่างดาวเสาร์และดาวยูเรนัส... วิดีโอข้างต้นจะช่วยให้เราเข้าใจว่า นักดาราศาสตร์ค้นพบวงแหวนได้อย่างไร

วิธีการค้นพบวงแหวนของดวงดาว

      Chariklo โคจรผ่านมาในปี 2013 ที่ด้านหน้าของดาวที่สว่างไสว นักดาราศาสตร์สังเกตุเห็นว่าแสงของดาวดวงที่สว่างไสวได้หายไปบางช่วง จึงนำข้อมูลไปวิเคราะห์ จนพบว่า ดาวเคราะห์น้อยนี้ มีวงแหวน

      ปัจจุบัน นักดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ ใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อตรวจสอบว่า ระบบแหวนของ Chariklo มันมีความเสถียรหรือไม่? วงแหวนจะสามารถอยู่ได้นานแค่ไหน? อย่างไร?

ชื่อบทความ Two Rings for Asteroid Chariklo
Video Illustration Credit: Lucie Maquet, Observatoire de Paris, LESIA
ที่มา : http://apod.nasa.gov/apod/ap140409.html วันที่ 9 เมษายน 2014

ดวงจันทร์หายไปบางส่วน! ปรากฏการธรรมชาติ | ดาราศาสตร์

ภาพดวงจันทร์ ที่ดวงจันทร์หายไปบางส่วน
A Strawberry Moon
June's Full Moon (full phase on June 13, 0411 UT)
      เป็นประเพณีที่รู้จักกันดีในชื่อ "ดวงจันทร์สตรอเบอร์รี่" หรือ "ดวงจันทร์กุหลาบ"

      ชื่อเหล่านั้น อธิบายถึงลักษณะของดวงจันทร์เต็มดวง ที่ขึ้นในเดือนที่ผ่านมา ณ หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ชื่อ "Marieby" ของสวีเดน

      ดวงจันทร์ในภาพลักษณะขนาดใหญ่ เป็นเพราะถ่ายโดยใช้เลนส์โฟกัสยาว ภาพนี้ ถ่ายไกลจากหมู่บ้านที่เห็นในภาพประมาณ 8 กิโลเมตร

      หากมองดวงจันทร์ด้วยตาปล่าว จะเห็นดวงจันทร์บางส่วนเลือนรางไป ณ บริเวณเส้นขอบฟ้า ปรากฏการที่บางส่วนของดวงจันทร์เลือนรางไปนี้ ไม่ได้เกิดจากเลนส์กล้องแต่อย่างใด มันเกิดจากแสงที่อยู่ในชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ก็ยังอธิบายไม่ได้ แต่นักวิทยาศาสตร์คาดว่าน่าจะเกิดการกระจายแสง หรือการหักเหแสง จึงทำให้เห็นดวงจันทร์เพียงบางส่วน ดังภาพ

ชื่อบทความ A Strawberry Moon
Image Credit & Copyright: Göran Strand
ที่มา http://apod.nasa.gov/apod/ap140613.html

ซูเปอร์โนวาที่หลงเหลืออยู่, "Puppis A"

ซูเปอร์โนวา ที่หลงเหลืออยู่
มีชื่อเรียกว่า 
Puppis A
      ภาพด้านบน เกิดจากแรงผลักดันจากการระเบิดของดาวขนาดใหญ่, เป็นซูเปอร์โนวาที่เหลืออยู่ อยู่ห่างจากโลก 7,000 ปีแสง

      จากภาพ เป็นการระเบิดที่ซับซ้อน ซึ่งขยายตัวออกทางด้านข้างได้กว้างถึง 180 ปีแสง ข้อมูลภาพนี้ เกิดจากแสงรังสีเอ๊ก (X-ray) จาก "Chandra and XMM/Newton observations" ส่วนแสงอินฟาเรด ได้มาจาก "Spitzer Space Telescope"

      เฉดสีน้ำเงินเกิดจากรังสีเอ๊ก ได้จากก๊าซร้อนจากคลื่นซูเปอร์โนวา ในขณะที่เฉดสีแดงและสีเขียว ได้จากการปล่อยอินฟราเรดของฝุ่นที่อบอุ่น

      แสงจากซูเปอร์โนวา เกิดจากการล่มสลายของแกนดาวขนาดใหญ่ แสงนี้มาถึงโลกครั้งแรกเมื่อประมาณ 3,700 ปีก่อน (และยังคงอยู่)

      ทว่า "Puppis A"ส่วนที่เหลือ ยังคงเป็นซูเปอร์โนวาที่ปล่อย X-ray ที่แข็งแกร่งในท้องฟ้า

ชื่อบทความ Supernova Remnant Puppis A
Image Credit: X-ray: NASA/CXC/IAFE/ G. Dubner et al., ESA/XMM-Newton
Infrared: NASA/ESA/JPL-Caltech/GSFC/ R. Arendt et al.
ที่มา http://apod.nasa.gov/apod/ap140912.html วันที่ 12 กันยายน 2014

เนบิวลาดัมเบล(M27), อนาคตของดวงอาทิตย์ | ดาราศาสตร์

เนบิวลาดัมเบล
      กุญแจที่ไขปริศนาว่าในอนาคตดวงอาทิตย์ของเราจะเป็นอย่างไร ถูกค้นพบโดยไม่ตั้งใจในปี 1764... ในเวลานั้น ชาร์ลส์ เมสไซเออ(Charles Messier) ได้รวบรวมรายชื่อของวัตถุกระจายกันอยู่ เพื่อไม่ให้สับสนกับดาวหาง วัตถุลำดับที่ 27 ในรายชื่อของ 'เมสไซเออ' ตอนนี้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ "M27" หรือ "ดัมเบลเนบิวลา"(ดังภาพ) เป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ที่เหมือนดวงอาทิตย์ของเรา เมื่อนิวเคลียร์ฟิวชันบนดวงอาทิตย์หยุดลง ก็จะเกิดการระเบิดขึ้นเหมือนดังในภาพ

      M27 เป็นหนึ่งในเนบิวลาดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุดที่อยู่บนท้องฟ้า และสามารถมองเห็นได้ โดยใช้กล้องส่องทางไกลมองไปที่กลุ่มดาวของฟ็อกซ์ (Vulpecula) มันตอยู่ห่างจากเราประมาณ 1000 ปีแสง

      ภาพเนบิวลา M27 ด้านบน เป็นสีที่ปล่อยออกมาจากอะตอมของไฮโดรเจนและออกซิเจน การทำความเข้าใจด้านฟิสิกส์ และความสำคัญของ M27 เป็นไปด้วยดีเกินกว่าที่วิทยาศาสตร์คาดไว้ในศตวรรษที่ 18

      แม้กระทั่งวันนี้ หลายสิ่งหลายอย่างยังคงลึกลับเกี่ยวกับเนบิวลาดาวเคราะห์สองขั้ว เช่น M27 รวมทั้งกลไกทางกายภาพที่ผลักก๊าซที่อยู่บนดาวมวลต่ำออกนอกเปลือกดาว...

ชื่อบทความ M27: The Dumbbell Nebula 
Image Credit & Copyright: Bill Snyder (Bill Snyder Photography)
ที่มา http://apod.nasa.gov/apod/ap140914.html วันที่ 14 กันยายน 2014

ดวงจันทร์ที่น่าจะมีโอกาสมีสิ่งมีชีวิต | ดาราศาสตร์

ดวงจันทร์ที่น่าจะมีโอกาสมีสิ่งมีชีวิต
      สำหรับนักดาราศาสตร์ชีววิทยา ดวงจันทร์ 4 ดวงนี้ อาจจะเป็นสิ่งที่น่าค้นหามากที่สุดในระบบสุริยะของเรา ภาพด้านบน เทียบขนาดดวงจันทร์ของแต่ละดวง การสำรวจนี้ เราส่งยานอวกาศขึ้นไป โดยมีแนวคิดว่า "ไม่เพียงแต่ดาวเคราะห์เท่านั้นที่อาจมีสิ่งมีชีวิต แต่ดวงจันทร์ก็อาจมีสภาพแวดล้อมที่รองรับชีวิตได้เช่นกัน"

      ในภารกิจกาลิเลโอ(Galileo mission) ที่มีเป้าหมายเพื่อการสำรวจดาวพฤหัสบดี ได้ค้นพบมหาสมุทรของของเหลวอยู่บนดวงจันทร์ยูโรปา (Europa : ดวงจันทร์ของดาวพฤหัส) และบ่งชี้ว่าดวงจันทร์แกนีมีด  (Ganymede : ดวงจันทร์ของดาวพฤหัส ) น่าจะมีทะเลอยู่ภายใน

      ที่ดาวเสาร์ ยานอวกาศแคสซินี (Cassini) ได้ตรวจพบน้ำพุน้ำแข็งจากดวงจันทร์เอนเซลาดัส (Enceladus : ดวงจันทร์ของดาวเสาร์) ชี้ให้เห็นว่า มีน้ำอุ่นอยู่ใต้ผิวบนดวงจันทร์ขนาดเล็กนี้

      ขณะที่สำรวจพื้นผิวของทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนเย็น แต่ยังคงมีสภาพเป็นของเหลว ภายใต้บรรยากาศที่หนาแน่นของดวงจันทร์ไททันขนาดใหญ่ (Titan : ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์)

      หากมองออกนอกระบบสุริยะ งานวิจัยใหม่แสดงให้เห็นว่า ดวงจันทร์ขนาดใหญ่(ที่ไม่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์) มีโอกาสพบสิ่งมีชีวิตมากกว่าดาวเคราะห์ (ที่ไม่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์) จึงสรุปได้ว่า ดวงจันทร์น่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างดาว

Potentially Habitable Moons
Image Credit: Research and compilation - René Heller (McMaster Univ.) et al.
Panels - NASA/JPL/Space Science Institute - Copyright: Ted Stryk
ที่มา http://apod.nasa.gov/apod/ap140919.html วันที่ 19 กันยายน 2014

วงแหวนดาวเสาร์หายไปได้อย่างไร? | ดาราศาสตร์


ดาวเสาร์จะมีลักษณะอย่างไร? หากระนาบของวงแหวนดาวเสาร์ ชี้ไปทางดวงอาทิตย์พอดี!

      ก่อนเดือนสิงหาคม 2009 หากมองดาวเสาร์จากโลก ทุกๆ 15 ปี วงแหวนของดาวเสาร์จะหายไป ไม่เคยมีใครทราบว่ามันหายไปได้อย่างไร

      ปัจจุบัน วงแหวนที่หายไปนั้น ไม่ใช่เรื่องลึกลับอีกต่อไป เนื่องจากวงแหวนของดาวเสาร์มีความบางมาก และโลกก็อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ เมื่อระนาบของดาวเสาร์ชี้มาทางดวงอาทิตย์ เราจะเห็นเพียงเส้นบางๆของขอบวงแหวนดวงเสาร์

      โชคดีที่มนุษย์สามารถพัฒนายานอวกาศจนสามารถไปโคจรรอบดาวเสาร์ได้ ภาพระยะใกล้ของดาวเสาร์นี้ ถูกถ่ายโดยยานอวกาศ แคสซินี (โดย นาซ่า) ที่โคจรรอบดาวเสาร์ ซึ่งแสดงให้เห็นเงาบางๆของวงแหวนดาวเสาร์ ที่ปรากฏบนดาวเสาร์


บทความ Saturn at Equinox
Credit: Cassini Imaging Team, ISS, JPL, ESA, NASA
ที่มา http://apod.nasa.gov/apod/ap140921.html วันที่ 21 กันยายน 2014

ยานอวกาศ MAVEN ที่ไปสำรวจดาวอังคาร | ข่าวดาราศาสตร์

ภาพที่ได้จากยานอวกาศ MAVEN
MAVEN (Mars Atmosphere and Volatile EvolutioN) ขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2013

      ยานอวกาศMAVEN ได้เดินทางไปถึงดาวอังคารในวันที่ วันที่ 21 กันยายน 2014 ยานอวกาศจะโคจรเป็นวงรีรอบดาวอังคาร

      MAVEN การถ่ายภาพแบบสเปกโตรกราฟของรังสีอัลตราไวโอเลตได้เริ่มขึ้นแล้วในการสำรวจบรรยากาศบนดาวเคราะห์แดง ข้อมูลภาพนี้ ถ่ายจากที่ความสูง 36,500 กิโลเมตร เหนือดาวอังคาร

      อัลตราไวโอเลต 3 ช่วงความยาวคลื่น แสดงแสงที่สะท้อนจากอะตอมไฮโดรเจน (สีน้ำเงิน),
ออกซิเจนอะตอม (สีเขียว) และพื้นผิวของดาวเคราะห์ (สีแดง)

      อะตอมไฮโดรเจนที่มีมวลต่ำ จะเห็นการกระจายตัวในระยะหลายพันกิโลเมตร กับกลุ่มเมฆของอะตอมออกซิเจนจะไม่กระจายตัว เนื่องจากมีน้ำหนักมากกว่า ทั้งสองเป็นผลิตภัณฑ์ของเสียของน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร ข้อมูลเหล่านี้ สามารถใช้ในการคำนวณอัตราการสูญเสียน้ำตลอดเวลาที่ผ่านมา

      จริงๆแล้ว MAVEN เป็นภารกิจแรกที่อุทิศตนเพื่อการสำรวจดาวชั้นบรรยากาศอิออโนสเฟียร์ที่เปราะบางของอังคาร ศึกษาการมีปฏิสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ และผลกระทบจากลมสุริยะ

MAVEN at Mars
Image Credit: MAVEN, Laboratory for Atmospheric and Space Physics, Univ. Colorado, NASA
ที่มา http://apod.nasa.gov/apod/ap140926.html วันที่ 26 กันยายน 2557

นาซ่าพบหินทรงกลม บนดาวอังคาร | ข่าวดาราศาสตร์

ภาพหินทรงกลมที่อยู่บนดาวอังคาร (ภาพใหญ่)
ภาพก้อนหินขนาดเล็กที่ผิดปกติ (ภาพเล็ก)
หินดาวบนดาวอังคาร มีลักษณะเป็นทรงกลมแบบนี้ได้อย่างไร?

      ขณะที่หุ่นยนต์แลนด์โรเวอร์(นาซ่า) 'Curiosity' กำลังเดินทางไปที่ปาห์รัมป์ฮิลส์ (Pahrump Hills) บนดาวอังคาร มันพบสิ่งที่น่าสนใจ คือหินที่มีลักษณะผิดปกติ ภาพด้านบนเป็นภาพหินที่เป็นทรงกลม ที่ถ่ายโดยหุ่นยนต์แลนด์โรเวอร์ หินมีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร

      ในตอนนี้เรายังไม่ทราบ ว่า อะไรที่ทำให้ก้อนหินมีลักษณะเป็นทรงกลมขนาดนั้น อาจจะเป็นหินที่เกิดจากการไหลของลาวา? ภาพที่ใส่เข้าไปเพิ่มเติม(รูปทรงกลมสีขาวที่มุม ซ้าย-ล่าง ของในภาพ) ถ่ายไม่กี่วันต่อมา แสดงให้เห็นโครงสร้างหินอีกก้อนขนาดเล็ก แต่มีรูปร่างผิดปกติ

      ในขณะที่หุ่นยนต์'Curiosity' กำลังใต่ขึ้นภูเขาชาร์ป(Mount Sharp), ได้ถ่ายภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกัน เพื่อการศึกษา เพื่อทำความเข้าใจประวัติศาสตร์โบราณของบริเวณนั้น และเพื่อตรวจสอบว่าดาวอังคารอาจจะเคยมีสิ่งมีชีวิตหรือไม่?

ภาพหุ่นยนต์ รถแลนโรเวอร์ 'Curiosity' ของนาซ่า บนดาวอังคาร
(
robotic Curiosity rover By NASA)
ชื่อบทความ Unusual Rocks near Pahrump Hills on Mars
Image Credit: NASA, JPL-Caltech, MSSS
ที่มา http://apod.nasa.gov/apod/ap140929.html วันที่ 29 กันยายน 2014
ที่มาของหุ่นยนต์ http://en.wikipedia.org/wiki/Curiosity_(rover)

ภาพรุ่งกินน้ำแบบเต็มวง ซึ่งถ่ายจากที่สูง

ภาพรุ่งกินน้ำ ที่ถ่ายจากที่สูง

      คุณเคยเห็นรุ้งกินน้ำแบบเต็มวงไหม? หากเรามองรุ้งจากพื้นดิน โดยทั่วไปจะมองเห็นรุ้งได้เพียงครึ่งบน เพราะทิศทางสู่พื้นดินมีเม็ดฝนและแสงอยู่น้อย แต่หากเรามองมาจากบนห้า จะเห็นรุ้งกินน้ำเป็นวงกลม 360 องศา ซึ่งมองเห็นได้มากกว่าปกติ ภาพนี่ เป็นรุ้งกินน้ำแบบวงกลมเต็มวง ถ่ายอยู่บนชายหาด Cottesloe ใกล้เมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปีที่แล้ว โดยอยู่บนเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งบินในขณะที่แดดออกและฝนตก ปรากฏการณ์ที่เปิดขึ้น เกิดจากการสะท้อนของแสงแดดโดยเม็ดฝน เส้นผ่าศูนย์กลางรุ้งประมาณ 5 กิโลเมตร แถมยังมีรุ้งวงที่สองที่เกิดขึ้นจาง ๆ อีกด้วย

ชื่อบทความ A Full Circle Rainbow over Australia
Image Credit & Copyright: Colin Leonhardt (Birdseye View Photography)
ที่มา http://apod.nasa.gov/apod/ap140930.html เขียนในวันที่ 30 กันยายน 2014

เนบิวล่าผีเสื้อ จากกล้องฮับเบิล | ดาราศาสตร์

ภาพเนบิวลา NGC 6302
เนบิวล่าผีเสื้อ : 
The Butterfly Nebula
     กลุ่มดาวที่สดใสและเนบิวล่าบนท้องฟ้ายามค่ำคืน มักจะได้รับการตั้งชื่อตามชื่อดอกไม้หรือแมลง NGC 6302(ในภาพ) ก็เช่น

     ความกว้างของมันกว้างถึง 3 ปีแสง มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณประมาณ 250,000 องศาเซลเซียส, ดาวตรงกลางที่กำลังจะตายของเนบิวลาดาวเคราะห์นี้ ได้เกิดความร้อนมหาศาล ส่องแสงสว่างสดใสในแสงอัลตราไวโอเลต แสงบางช่วงไม่สามารถผ่านมาได้ เพราะถูกฝุ่นละอองที่หนาแน่นบดบังไว้ จึงเห็นบางส่วนของเนบิวล่าดังภาพ

     ภาพรูปร่างที่ใกล้ชิดของเนบิวลาดาวที่กำลังจะตาย ถูกบันทึกไว้ในปี 2009 โดยกล้องฟิลด์กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิกว้าง 3 เมตร NGC 6302 อยู่ประมาณ 4,000 ปีแสง ทางกลุ่มดาวแมงป่อง

ชื่อบทความ The Butterfly Nebula from Hubble
Image Credit: NASA, ESA, and the Hubble SM4 ERO Team
Reprocessing & Copyright: Francesco Antonucci
ที่มา http://apod.nasa.gov/apod/ap141001.html

นักดาราศาสตร์ค้นหาน้ำ บนดาวเคราะห์ยักษ์คล้ายดาวพฤหัส | ดาราศาสตร์



      นักดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลของนาซา เพื่อมองหาไอน้ำในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์สามดวง ซึ่งมีวงโคจรคล้ายกับดวงอาทิตย์

      ดาวเคราะห์ดังกล่าวคือ HD 189733b, HD 209458b และ WASP-12b, อยู่ไกลออกไป ระหว่าง 60 และ 900 ปีแสง มันเป็นโลกก๊าซขนาดยักษ์และมีความร้อนสูง อุณหภูมิระหว่าง 1,500 และ 4,000 องศาฟาเรนไฮต์ นักดาราศาสตร์คาดว่าพวกมันน่าจะไอน้ำในชั้นบรรยากาศ

      "เราทำการตรวจหาน้ำในดาวเคราะห์ HD 209458b เป็นการวัดสารเคมีที่แม่นยำที่สูงที่สุดที่เคยวัดนอกระบบสุริยะ และตอนนี้เราสามารถพูดด้วยความมั่นใจมากขึ้น ว่าเราพบน้ำในดาวเคราะห์ดวงนี้"-- กล่าวโดย Dr.Nikku ของสถาบันดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, สหราชอาณาจักร, ผู้นำการวิจัย "อย่างไรก็ตาม น้ำมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เรากำลังมองหาสิ่งที่เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์"

      Dr.Nikku กล่าวว่า การค้นพบนี้เป็นสิ่งสำคัญในทฤษฎีดาวเคราะห์นอกระบบ "เราคาดว่าจะมีน้ำอยู่ในดาวเคราะห์เหล่านี้เป็นจำนวนมาก เราต้องเรียนรู้วิธีการก่อตัวของดาวเคราะห์ และรูปแบบการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ยักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 'จูปิเตอร์-ร้อน' และตรวจสอบการเปลี่ยนรูปของมัน"

      เขาเน้นย้ำผลลัพธ์เหล่านี้ว่า แม้ว่าพบในดาวเคราะห์ขนาดใหญ่และร้อนเหล่านี้อยู่ใกล้กับดาวแม่ของมันอาจมีผลกระทบที่สำคัญสำหรับการค้นหาสำหรับน้ำในดาวเคราะห์นั้น กล้องโทรทรรศน์อวกาศในอนาคต อาจจะต้องมีการออกแบบให้มีความไวสูงขึ้น หากดาวเคราะห์ที่สำรวจนั้นแห้งกว่าที่คาดการณ์ไว้

      การใช้สเปกตรัมอินฟราเรดของดาวเคราะห์ที่สังเกตด้วยกล้องฮับเบิล สามารถประมาณปริมาณของไอน้ำในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ ผ่านทางแบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน และใช้เทคนิคทางสถิติในการอธิบายข้อมูล

      ดาวเคราะห์ที่เลือก ควรโคจรรอบดาวฤกษ์ที่ค่อนข้างสดใสที่ให้รังสี หรือคลื่นอินฟราเรดเพียงพอที่จะนำคุณสมบัติการดูดซึมจากไอน้ำในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ มาวิเคราะห์

ที่มา http://hubblesite.org/newscenter/archive/releases/2014/36/full

ประวัติ จาค็อบ แอล "เจค" บาร์เน็ตต์ นักฟิสิกส์ที่อายุน้อยที่สุดในโลก

จาค็อบ แอล "เจค" บาร์เน็ตต์Jacob L. "Jake" Barnett
     จาค็อบ แอล "เจค" บาร์เน็ตต์ (เกิด 26 พฤษภาคม 1998) ชาวอเมริกัน เป็นนักศึกษาฟิสิกส์และเด็กอัจฉริยะ ตามที่ไดอารี่ที่เขียนโดยแม่ของเขาเล่าว่า บาร์เน็ตต์ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคออทิสติกเมื่อเขาอายุได้ 2 ปี และพ่อแม่ของเขาต้องสอนหนังสือเอง(ไม่ได้ไปโรงเรียน) เขาแสดงความสนใจในสาขาฟิสิกส์ในช่วงวัยหนุ่ม และเขียนและตีพิมพ์รายงานการวิจัยฟิสิกส์เมื่ออายุ 13 ปี ในการสัมภาษณ์ชีวิตประจำวันของนางบาร์เน็ตต์ ครูChris Edwardsกล่าวว่า จาค็อบเป็นนักปราชญ์ออทิสติกและเสริมอีกว่า ไม่มีหลักฐานที่มั่นคงว่าเขาเป็น "อะไรมากไปกว่านักปราชญ์ออทิสติกโดยทั่วไป." นักจิตวิทยาศาสตราจารย์ ดร. Joanne Ruthsatz ผู้ศึกษาเด็กอัจฉริยะที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเต (Ohio State University) สัมภาษณ์เขา 60 นาที แล้วประมาณการว่า พรสวรรค์ของบาร์เน็ตต์ จะเกิดขึ้นหนึ่งในสิบล้านคน

     ในปี 2011 แม่ของบาร์เน็ตต์ลงคลิปวิดีโอใน YouTube และมีข่าวปรากฏในสื่อที่มีการพาดหัวมากมาย เช่น

  • "เด็กออทิสติกอายุ 12 ปี ที่มีไอคิวสูงกว่าไอสไตน์ได้พัฒนาทฤษฎีของตัวเองของสัมพัทธภาพ"
  • "12 ปี Genius -Old ขยายความทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอสไตน์ เขาคิดว่าเขาสามารถพิสูจน์ได้ว่ามันมันผิด"
  • "ออทิสติกวัยรุ่นที่เหมาะกับรางวัลโนเบล "
     บาร์เน็ตต์ได้เข้าศึกษาที่(สถาบันวิจัย) 'Perimeter Scholars International' ในปี 2013 ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาโทที่ใช้เวลาศึกษาเพียง 1 ปี ตอนอายุ 15 เขาเป็นนักเรียนที่อายุน้อยที่สุดที่ศึกษาในหลักสูตรนี้ [12] ตั้งแต่ต้น ชั้นสี่ปีก่อนในปี 2009 [13] เขาจบหลักสูตรในปี 2014 [14] และต่อมาได้รับการระบุว่าเป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่สถาบันวิจัย 'Perimeter Scholars International' 

(สถาบันวิจัย) 'Perimeter Scholars International'Waterloo, Ontario, Canada
สิ่งพิมพ์ 
     ในปี 2011 บาร์เน็ตต์ เขียนบทความเกี่ยวกับรูปแบบโครงผลึกในทฤษฎีสสารควบแน่น ในวารสาร 'Physical Review A' ร่วมกับ Yogesh N. Joglekar,ศาสตราจารย์ฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยอินเดียนา
เมื่ออายุ 13 เขาเป็นคนที่อายุน้อยที่เผยแพร่บทความในวารสารนั้น

การสัมภาษณ์กับนางบาร์เน็ตต์ เกี่ยวกับการอัปโหลดวิดีโอของบาร์เน็ตต์ไปยัง YouTube (ปัจจุบันลบวิดีโอนั้นแล้ว)

การตีพิมพ์ข่าว

  • ในปี 2011 หนังสือพิมพ์ 'the Daily Mail' ได้ตีพิมพ์ 'การขยายทฤษฎีสัมพัทธของไอสไตน์' ที่เขียนโดยบาร์เน็ตต์ หลังจากนั้นไม่นานก็มีนิตยสาร'Time'ตีพิมพ์เช่นกัน นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่าบาร์เน็ตต์ได้พิสูจน์ว่าทฤษฎีของไอสไตน์ผิด! Phil Plait นักวิทยาศาสตร์ผู้เขียนบล็อคของนิตยสาร 'Discover Magazine' กล่าวว่า "บาร์เน็ตต์ยังขาดความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและความน่าเชื่อถือในบทความเวลา" และยังกล่าวต่อว่า "แม้ว่ามันจะเป็นไปได้ว่าสักวันหนึ่งบาร์เน็ตต์อาจจะขยายความทฤษฎีสัมพัทธของไอสไตน์ได้  แต่เขายังไม่ได้เขียนรายละเอียดอะไรมากมาย"... บาร์เน็ตต์แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับปัญหาที่เขากำลังคิด... "ผมยังคงทำงาน ผมมีไอเดียร์ แต่ ... ผมกำลังเขียนรายละเอียด"
  • ในปี 2012 บาร์เน็ตต์กล่าวว่าเขาได้เขียนรายละเอียดของทฤษฎีได้แล้ว แต่ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียด
  • ในปี 2013 CTV ข่าวรายงานว่า 6 ปีก่อนหน้านี้ บาร์เน็ตต์ได้ "สร้างชุดของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการขยายทฤษฎีสัมพัทธของไอสไตน์" อาจารย์มหาวิทยาลัยพรินซ์แสดงความเห็นว่า  "เป็นการอธิบายที่แหวกแนว"
  • ในปี 2014 นอกเหนือจากวิดีโอ YouTube ที่ถูกลบ ส่วนรายละเอียดของทฤษฎี บาร์เน็ตต์ยังไม่ได้เผยแพร่


ที่มาของบทความ http://en.wikipedia.org/wiki/Jacob_Barnett

พายุที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะบนดาวพฤหัสได้ลดขนาดลง | ดาราศาสตร์



     15 พฤษภาคม 2014: ดาวพฤหัสบดีที่มีพายุจุดแดงใหญ่(the Great Red Spot) ครั้งหนึ่งเคยมีขนาดใหญ่มากพอที่นำโลกขิงเราเข้าไปอยู่ได้ 3 ใบ นาซาใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เพื่อทำการวัดขนาดใหม่ พบภาพที่แสดงให้เห็นว่าพายุที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะของเราได้ลดอย่างมาก

     จุดสีแดงซึ่งเป็นพายุขนาดใหญ่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยร้อยปี ตอนนี้มีความกว้างประมาณเท่าโลก มีสิ่งที่เกิดขึ้น? ความเป็นไปได้ คือกิจกรรมที่เรายังไม่ทราบ ที่เกิดในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ ซึ่งปล่อยพลังงาน และเกิดการอ่อนตัวลงของพายุ ทำให้มันหดตัวลงภาพ ฮับเบิลถ่ายมาในปี 1995 2009 และ 2014

ที่มาของบทความ http://hubblesite.org/newscenter/archive/releases/2014/24/

ฮับเบิลพบดาวคู่ ซ่อนเร้นมานาน 21 ปี ในซูเปอร์โนวา | ข่าวดาราศาสตร์



     นักดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลของนาซ่า ได้ค้นพบดาวคู่ ซึ่งเป็นซูเปอร์โนวาชนิดที่หายาก การสังเกตนี้ยืนยันทฤษฎี 'การระเบิดที่เกิดขึ้นในระบบดาวคู่' ซึ่งดาวดวงหนึ่งเกิดการการสูญเสียมวลเพราะดาวมีอายุมาก

     การตรวจจับนี้เป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์สามารถที่จะนำคุณสมบัติของดาวคู่ในขั้นที่ผิดปกติของซูเปอร์โนวา (เรียกว่าประเภท 'IIb') นักดาราศาสตร์สามารถที่จะประเมินอายุของดาวได้จากความสว่างและมวลของดวงดาว ซึ่งทำนำไปสู่การระเบิด

     "A binary system is likely required to lose the majority of the primary star's hydrogen envelope prior to the explosion. The problem is that, to date, direct observations of the predicted binary companion star have been difficult to obtain since it is so faint relative to the supernova itself," said lead researcher Ori Fox of the University of California (UC) at Berkeley.

     นักดาราศาสตร์คาดการว่า ซูเปอร์โนวาจะเกิดใหม่มากขึ้นเรื่อยๆในที่ไหนสักแห่งในจักรวาล 
แต่นักดาราศาสตร์ไม่เข้าใจว่ามันระเบิดได้อย่างไร การหา"ควันจากปลายกระบอกปืน" ดาวคู่ให้เบาะแสใหม่ที่สำคัญเกี่ยวกับความหลากหลายของซูเปอร์โนวาในจักรวาล "นี้เป็นเหมือนสถานที่เกิดเหตุ และในที่สุดเราจะจับโจรได้"  "ดาวคู่ขโมยไฮโดรเจนก่อนที่ดาวหลักระเบิด"

     การระเบิดเกิดขึ้นในกาแลคซี M81 ห่างจากโลกประมาณ 11 ล้านปีแสง ไปในทิศทางของกลุ่มดาวกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major หรือ the Great Bear) มีการตรวจพบแสงจากซูเปอร์โนวาครั้งแรกในปี 1993 และตั้งชื่อวัสถุนี้ว่า 'SN 1993J' มันเป็นตัวอย่างที่รู้จักกันใกล้เคียงกับประเภทของซูเปอร์โนวานี้เรียกว่าประเภท IIb เนื่องจากลักษณะเฉพาะของการระเบิด. 20ปีที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้ค้นหาคู่ซึ่งสงสัยว่า 
มันจะหายไปในแสงจ้าของแสงที่เหลือจากการระเบิด

     การสังเกตการณ์ในปี 2004 ที่หอดูดาวเมานาคีในฮาวาย พบหลักฐานแสดงให้เห็นคุณสมบัติการดูดซึมสเปกตรัมที่อาจมาจากระบบดาวคู่ แต่เนื่องจากระหว่างทางมีดาวอยู่เยอะมาก นักดาราศาสตร์ไม่สามารถจะมั่นใจได้ว่า การดูดซึมสเปกตรัมมาจากวัตถุดาวคู่หรือจากดาวอื่น ๆ "จนถึงขณะนี้ไม่มีใครสามารถที่จะตรวจจับการเรืองแสงของดาวได้เลย" ฟ็อกซ์กล่าว

     The companion star is so hot that the so-called continuum glow is largely in ultraviolet (UV) light, which can only be detected above Earth's absorbing atmosphere. "We were able to get that UV spectrum with Hubble. This conclusively shows that we have an excess of continuum emission in the UV, even after the light from other stars has been subtracted," said team member Azalee Bostroem of the Space Telescope Science Institute (STScI), in Baltimore, Maryland.

     When a massive star reaches the end of its lifetime, it burns though all of its material and its iron core collapses. The rebounding outer material is seen as a supernova. But there are many different types of supernovae in the universe. Some supernovae are thought to have exploded from a single-star system. Other supernovae are thought to arise in a binary system consisting of a normal star with a white dwarf companion, or even two white dwarfs. The peculiar class of supernova called Type IIb combines the features of a supernova explosion in a binary system with what is seen when single massive stars explode.

     SN 1993J, and all Type IIb supernovae, are unusual because they do not have a large amount of hydrogen present in the explosion. The key question has been: how did SN 1993J lose its hydrogen? In the model for a Type IIb supernova, the primary star loses most of its outer hydrogen envelope to the companion star prior to exploding, and the companion continues to burn as a super-hot helium star.

     "When I first identified SN 1993J as a Type IIb supernova, I hoped that we would someday be able to detect its suspected companion star," said Filippenko. "The new Hubble data suggest that we have finally done so, confirming the leading model for Type IIb supernovae."

     The team combined ground-based data for the optical light and images from two Hubble instruments to collect ultraviolet light. They then constructed a multi-wavelength spectrum that matched what was predicted for the glow of a companion star.

     Fox, Filippenko, and Bostroem say that further research will include refining the constraints on this star and definitively showing that the star is present.

ที่มา http://hubblesite.org/newscenter/archive/releases/2014/38/full/

เนบิวล่าฟอง | ดาราศาสตร์

เนบิวล่าฟอง (Bubble Nebula)
     ช่องว่างตรงกลางถูกเป่าโดยลมจากดาวขนาดใหญ่ ปรากฏกลุ่มดวงดาวนี้ ซึ่งมีรูปร่างที่แปลกใจ มันหมวดหมู่ NGC 7635, เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ 'เนบิวลาฟอง'(Bubble Nebula) แม้ว่าจะดูละเอียดอ่อน แต่กระบวนการภายในมีความรุนแรงมาก ฟองมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ปีแสง

     ด้านล่าง-ซ้าย คือดาว O ที่มีแสงสว่างมากกว่า 100,000 เท่าของดวงอาทิตย์ และใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 45 เท่า

     ลมดวงดาวที่รุนแรงและการฉายรังสีรุนแรงจากดาว ได้ทำลายโครงสร้างของก๊าซเรืองแสงกับวัสดุทึบในเมฆโมเลกุลโดยรอบ ฟองเนบิวล่าที่น่าสนใจและซับซ้อน อยู่ไกลประมาณ 11,000 ปีแสง ไปทางกลุ่มดาว Cassiopeia

     ภาพที่สวยงามของฟองเนบิวล่านี้ ประกอบจากข้อมูลภาพที่บันทึกการปล่อยจากไฮโดรเจนและออกซิเจนไอออนอะตอมของบิรเวณนั้นเพื่อการสร้างภาพสามสี, ไฮโดรเจนและออกซิเจนปล่อยถูกนำมาใช้สำหรับสีแดงและสีน้ำเงิน และนำมารวมกันเพื่อสร้างสีเขียว

ชื่อบทความ The Bubble Nebula
Image Credit & Copyright: Bernard Michaud
ที่มา http://apod.nasa.gov/apod/ap141002.html วันที่ 2 ตุลาคม 2014

ภาพปรากฏการณ์แสงเหนือ (ออโรร่า) | ดาราศาสตร์


     ทางเดินที่ทำด้วยก้อนหิน มันทอดยาวข้ามฟากฟ้า... ดูเหมือนจะนำไปสู่ทางช้างเผือก แต่จริงๆแล้วมันเป็นฉากที่ถ่ายจากซีกโลกเหนือในคืนฤดูใบไม้ร่วง เดือนมีนาคม

ชื่อบทความ Aurora and Milky Way in a Little Sky
Image Credit & Copyright: Göran Strand
ที่มา http://apod.nasa.gov/apod/ap141003.html (3 ตุลาคม 2014)

ระหว่างดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ | ดาราศาสตร์



      สิ่งที่บดบังดวงจันทร์ไม่ให้แสงจากดวงอาทิตย์มาถึง คืออะไร? คำตอบที่หลายคนรู้จากประวัติศาสตร์ คือ โลก แต่ในมุมมองของภาพที่โดดเด่นด้านบนนี้ สิ่งที่อยู่ระหว่างดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ดูเหมือนจะเป็นระนาบของกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา!

      ภาพนี้คือภาพพาโนรามา 16 ภาพ ถูกถ่ายในอุทยานแห่งชาติ'Capitol Reef' (Capitol Reef National Park) ยูทาห์, สหรัฐอเมริกา สถานที่ซึ่งมีเสาหินทราย 2 ต้น -ด้านซ้ายเป็นดวงอาทิตย์ ด้านขวาเป็นดวงจันทร์ ดังภาพที่ 2 (Temple of the Sun, Temple of the Moon)

ภาพที่ 2 ภาพ Temple of the Sun(ซ้าย) และ Temple of the Moon (ขวา)
      เสาหินทรายโผล่ขึ้นมาจากทะเลทราย อนุสาวรีย์เสาหินทรายสูงประมาณ 100 เมตร และมีอายุในช่วงจูราสสิ 160 ล้านปีที่ผ่านมา

      พรุ่งนี้( 8 ตุลาคม 2014 )โลกจะบดบังแสงจากดวงอาทิตย์มิให้ไปยังดวงจันทร์ ซึ่งจะเกิดจันทรุปราคา หลาย ๆ สถานที่ทั่วโลกสามารถมองเห็นได้

From the Temple of the Sun to the Temple of the Moon
Image Credit & Copyright: Dave Lane
ที่มา : http://apod.nasa.gov/apod/ap141007.html ( วันที่ 7 ตุลาคม 2014 )

พบหลุมดำขนาดใหญ่ใจกลางกาแลกซีขนาดเล็ก | ดาราศาสตร์

หลุมดำขนาดใหญ่ กลางกาแลกซีขนาดเล็ก
ที่มีดวงดาวหนาแน่นมากที่สุดที่เคยเห็น

     นักดาราศาสตร์ได้พบบางสิ่งที่ไม่เหมือนวัตถุ ในสถานที่ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ มันคือหลุมดำที่ซ่อนอยู่ในหนึ่งในกาแลคซีที่คนไม่ค่อยรู้จัก

     แม้ว่าหลุมดำมีขนาด 5 เท่าของหลุมดำที่ใจกลางของทางช้างเผือกของเรา แต่มันอยู่ในกาแลคซีที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 300 ปีแสง ซึ่งเป็นกาแลกซีที่น้อยกว่าทางช้างเผือกเราถึง 500 เท่า กาแลกซีนี้มีดาวประมาณ 140 ล้านดวง

     กาแลคซีแคระที่มีหลุมดำนี้ เรียกว่า M60-UCD1, เป็นกาแลคซีที่หนาแน่นที่สุดเท่าที่เราเคยเห็น หากคุณอาศัยอยู่ภายในการแลกซีนี้ ท้องฟ้ายามค่ำคืนจะทำให้ตาคุณพร่ามัว เนื่องจากมันมีดาวอย่างน้อย 1 ล้านดวงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (ท้องฟ้ายามค่ำคืนของเราเท่าที่เห็นจากพื้นผิวโลก จะเห็นดาวเพียง 4,000 ดวงเท่านั้น)

     การสังเกตยังแสดงให้เห็นว่ากาแลคซีแคระนี้อาจจะเป็นส่วนที่หลงเหลือของแกแลคซีขนาดใหญ่ ที่ขาดออกจากกันในระหว่างการชนกับกาแลคซีอื่น ๆ

     "เราไม่รู้ว่ามีทางไหน ที่คุณสามารถทำให้หลุมดำขนาดใหญ่ ให้อยู่ในวัตถุขนาดเล็กนี้" เป็นคำกล่าวของนักดาราศาสตร์ชื่อ 'Anil Seth' มหาวิทยาลัยยูทาห์ ผู้นำการเขียนเกี่ยวกับการศึกษาระหว่างประเทศของกาแลคซีแคระ รับการตีพิมพ์ในฉบับวันพฤหัสบดีของวารสาร Nature.

     ทีมงานของเขานักดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและกล้องโทรทรรศน์แสง&อินฟราเรด 'Gemini North 8-meter' บนภูเขาไฟเมานาเคของฮาวาย เพื่อการสังเกต M60-UCD1 และวัดขนาดมวลของหลุมดำ

     ภาพคมชัดสูงจากฮับเบิล จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของจักรวาลและความหนาแน่นของดวงดาว ส่วน Spectroscopy ที่ได้จากกล้อง Gemini จะวัดความเคลื่อนไหวของดาว ซึ่งเป็นผลกระทบเนื่องจากแรงดึงดูดของหลุมดำ ข้อมูลเหล่านี้จะใช้ในการคำนวณหามวลของหลุมดำที่มองไม่เห็น

     หลุมดำจะยุบตัวเนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่สูงมากของมันเอง กลายเป็นวัตถุที่มีขนาดกะทัดรัดที่มีแรงโน้มถ่วงแรงสูงมาก จนแม้กระทั่งแสงไม่สามารถหนีพ้น หลุมดำมีมวลมหาศาล-มีมวลอย่างน้อย 1 ล้านเท่าของดวงอาทิตย์ของเรา - มันอาจจะเป็นศูนย์กลางของกาแลคซีทั้งหลาย

     หลุมดำที่ใจกลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรามีมวล 4 ล้านเท่าของดวงอาทิตย์, แต่นั่น มีค่าน้อยกว่า 0.01 เปอร์เซ็นต์ของมวลรวมของทางช้างเผือก

     หากเปรียบเทียบกัน, หลุมดำมวลมหาศาลที่ใจกลางของ M60-UCD1 มีมวลเป็น 15% ของมวลรวมกาแลคซีขนาดเล็กของมัน


"นั่นเป็นมวลที่น่าตื่นตาตื่นใจมาก! ทางช้างเผือกของเราใหญ่กว่า 500 เท่า และหนักกว่า 1,000 เท่า ของกาแลคซีแคระ M60-UCD1" Seth กล่าว

     มีคำอธิบายหนึ่ง กล่าวว่า M60-UCD1 เป็นกาแลคซีขนาดใหญ่ที่มีดาว 10 พันล้านดวง แต่แล้วมันเข้าใกล้กับศูนย์กลางของกาแลคซีขนาดใหญ่ที่ชื่อ M60, เกิดกระบวนการที่ทำให้ทุกดวงดาวและสสารมืดในส่วนด้านนอกของกาแล็คซี่ถูกฉีกขาดออกไป และกลายเป็นส่วนหนึ่งของ M60

     ทีมงานเชื่อว่า สุดท้ายแล้ว M60-UCD1 อาจจะกลับไปรวมกับศูนย์กลางของ M60 ซึ่งมีหลุมดำของตัวเอง หลุมดำ เจอ หลุมดำ แล้วจะเป็นยังไงต่อไป...

ที่มา http://hubblesite.org/newscenter/archive/releases/2014/41/
The Hubble Space Telescope เป็นโครงการที่ร่วมมือกันระหว่าง องกรค์นาซ่าและอื่นๆ

ควอซาร์ วัตถุที่ปล่อยพลังงานมหาศาล แกนกลางอาจเป็นหลุมดำ! | ดาราศาสตร์

แกลเลอรี่ภาพของเควซาร์จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิ
Quasars (QUASi-stellAR objects)

      ควอซาร์ (วัตถุเสมือนดาวฤกษ์) มันอยู่ใกล้ขอบของจักรวาล ค้นพบในปี 1963 นักดาราศาสตร์ประหลาดใจว่า วัตถุดังกล่าวซึ่งเปล่งแสงได้ใกลหลายพันล้านปีแสง จะต้องปล่อยพลังงานออกมาจำนวนมหาศาล

แล้วควอซาร์ใช้พลังงานมาจากไหน? หลายคนเชื่อว่า ใจกลางควาซาร์เป็นหลุมดำยักษ์ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่เกิดจากก๊าซ, ฝุ่นและดาวที่ตกลงไป (ตกลงไปในหลุมดำ จึงเกิดการระเบิด)

      แกลเลอรี่ภาพของเควซาร์จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบินี้ แสดงที่อยู่อาศัยของมัน
ควอซาร์ปรากฏตัวเป็นเหมือนวัตถุดาว แต่มีหอกแหลมที่แตกกระจายตัว(ดังภาพ)

      ภาพในศูนย์และขวามือคอลัมน์เปิดเผยควอซาร์ที่เกี่ยวข้องกับชนกระจัดกระจายและกาแลกซี่รวมซึ่งควรให้ความอุดมสมบูรณ์ของเศษเล็กเศษน้อยที่จะเลี้ยงหลุมดำหิว

ชื่อบทความ A Quasar Portrait Gallery
Credit J. Bahcall (IAS, Princeton), M. Disney (Univ. Wales), NASA
ที่มา http://apod.nasa.gov/

ข้อมูลด้านล่างนี้ มาจาก Wikipedia


      เควซาร์ หรือ เควเซอร์ (อังกฤษ: quasar; IPA: /ˈkweɪzɑr/) เป็นคำย่อของคำว่า Quasistellar Radio Sources หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แหล่งกำเนิดของคลื่นวิทยุคล้ายกับดวงดาว ถูกค้นพบเมื่อทศวรรษที่ 1960 ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ เริ่มแรกเควซาร์ไม่มีหลักฐานระบุแน่นอนว่าคืออะไร แต่จากที่นักดาราศาสตร์ได้สำรวจและค้นพบ เควซาร์คือวัตถุที่มีแสงสว่างเจิดจ้าเป็นอย่างมาก อยู่ห่างไกลจากโลกด้วยระยะทาง 100,000,000 ปีแสง หรือมีระยะทางมากกว่า 60,000,000 ไมล์ เคลื่อนที่ในอวกาศด้วยความเร็วสูงประมาณ 177,000 ไมล์ต่อวินาที ซึ่งเป็นความเร็วเกือบเท่ากับแสง

      เควซาร์อยู่ห่างไกลจากโลกเป็นอย่างมาก จึงมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นวัตถุที่ก่อกำเนิดขึ้นในห้วงอวกาศ ในยุคของการเริ่มแรกแห่งยุคประวัติศาสตร์ของเอกภพ ซึ่งแสงเจิดจ้าที่ได้รับจากเควซาร์นี้ ได้เดินทางมาในห้วงอวกาศด้วยระยะเวลาหลายสิบล้านปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก เควซาร์อาจจะเดินทางในห้วงอวกาศมายาวนานก่อนที่โลกจะถือกำเนิดขึ้น และจากการศึกษาล่าสุดของนักดาราศาสตร์ได้ระบุว่า เควซาร์คือวัตถุมวลขนาดใหญ่ที่มีลักษณะคล้ายกับดาวฤกษ์ คือมีแสงสว่างในตัวเอง แต่เควซาร์แตกต่างจากดาวฤกษ์ตรงที่มีแสงสว่างมากกว่าถึง 1,000 เท่า และไม่สามารถระบุตำแหน่งในห้วงอวกาศได้อย่างแน่นอน เควซาร์อาจจะมีขนาดใหญ่โตมโหฬารใกล้เคียงกับระบบสุริยะของโลกหรือใหญกว่าเป็นหลายร้อยเท่า และหมุนด้วยความเร็วราว 153,000 ไมล์/วินาที (250,000 กิโลเมตร/วินาที) เควซาร์ อาจจะเป็นแกนของดาราจักรใหม่ที่กำลังก่อตัวอยู่ หรืออาจจะเป็นศูนย์กลางของหลุมดำก็ได้

คุณจะได้เห็นอะไร ถ้าคุณสามารถมองเห็นหลุมดำ? | ดาราศาสตร์

แบบจำลองของหลุมดำ
      คุณจะได้เห็นอะไร  ถ้าคุณสามารถมองเห็นหลุมดำ? คอมพิวเตอร์สร้างภาพจำลองของหลุมดำขึ้น เพื่อตอบคำถามนั้น หลุมดำที่มีแรงโน้มถ่วงที่สูงมาก แม้แต่แสงที่เดินทางผ่านข้างๆมัน ก็ยังโค้งงออย่างเห็นได้ชัด ซึ่งก่อให้เกิดการบิดเบือนภาพจนดูผิดปกติ

      ทุกๆดวงดาว จะมีแสงอยู่ 2 เส้นทาง คือ
  1. มาจากด้านข้างของหลุมดำ ,ใกล้หลุมดำ
  2. แสงจากทุกทิศทุกทางที่ไกล้หลุมดำ จะงอไปรอบ ๆ และกลับมาให้คุณ
      พื้นหลังเดิมถูกนำมาจาก 2MASS การสำรวจท้องฟ้าโดยอินฟราเรด ซึ่งมีดาวจากหนังสือของ Henry Draper (Henry Draper catalog)

      หลุมดำถูกเข้าใจว่าเป็นวัตถุที่หนาแน่นที่สุดของสสาร และมีหลักฐานทางอ้อม ว่ามีหลุมดำอยู่ในระบบดาวคู่ และศูนย์กลางกระจุกดาวทรงกลม, กาแลคซี และควอซาร์(Quasar)

ชื่อบทความ Too Close to a Black Hole
Image Credit & Copyright: Alain Riazuelo
ที่มา http://apod.nasa.gov/

ด้านล่างนี้ เป็นข้อมูลหลุมดำที่มาจาก Wiki


มุมมองจำลองของหลุมดำด้านหน้าของทางช้างเผือก โดยมีมวลเทียบเท่าดวงอาทิตย์ 10 ดวงจากระยะทาง 600 กิโลเมตร
      หลุมดำ (อังกฤษ: black hole) หมายถึงเทหวัตถุในเอกภพที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่แสง เราจึงมองไม่เห็นใจกลางของหลุมดำ หลุมดำจะมีพื้นที่หนึ่งที่เป็นขอบเขตของตัวเองเรียกว่าขอบฟ้าเหตุการณ์ ที่ตำแหน่งรัศมีชวาร์สชิลด์ ถ้าหากวัตถุหลุดเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ วัตถุจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าความเร็วแสงจึงจะหลุดออกจากขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่วัตถุใดจะมีความเร็วมากกว่าแสง วัตถุนั้นจึงไม่สามารถออกมาได้อีกต่อไป

      เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมหึมาแตกดับลง มันอาจจะทิ้งสิ่งที่ดำมืดที่สุด ทว่ามีอำนาจทำลายล้างสูงสุดไว้เบื้องหลัง นักดาราศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า "หลุมดำ" เราไม่สามารถมองเห็นหลุมดำด้วยกล้องโทรทรรศน์ใดๆ เนื่องจากหลุมดำไม่เปล่งแสงหรือรังสีใดเลย แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ และคลื่นโน้มถ่วงของหลุ่มดำ (ในเชิงทฤษฎี โครงการ แอลไอจีโอ) และจนถึงปัจจุบันได้ค้นพบหลุมดำในจักรวาลแล้วอย่างน้อย 6 แห่ง

      หลุมดำเป็นซากที่สิ้นสลายของดาวฤกษ์ที่ถึงอายุขัยแล้ว สสารที่เคยประกอบกันเป็นดาวนั้นได้ถูกอัดตัวด้วยแรงดึงดูดของตนเองจนเหลือเป็นเพียงมวลหนาแน่นที่มีขนาดเล็กยิ่งกว่านิวเคลียสของอะตอมเดียว ซึ่งเรียกว่า เอกภาวะ

      หลุมดำแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ หลุมดำมวลยวดยิ่ง เป็นหลุมดำในใจกลางของดาราจักร, หลุมดำขนาดกลาง, หลุมดำจากดาวฤกษ์ ซึ่งเกิดจากการแตกดับของดาวฤกษ์, และ หลุมดำจิ๋วหรือหลุมดำเชิงควอนตัม ซึ่งเกิดขึ้นในยุคเริ่มแรกของเอกภพ

      แม้ว่าจะไม่สามารถมองเห็นภายในหลุมดำได้ แต่ตัวมันก็แสดงการมีอยู่ผ่านการมีผลกระทบกับวัตถุที่อยู่ในวงโคจรภายนอกขอบฟ้าเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น หลุมดำอาจจะถูกสังเกตเห็นได้โดยการติดตามกลุ่มดาวที่โคจรอยู่ภายในศูนย์กลางหลุมดำ หรืออาจมีการสังเกตก๊าซ (จากดาวข้างเคียง) ที่ถูกดึงดูดเข้าสู่หลุมดำ ก๊าซจะม้วนตัวเข้าสู่ภายใน และจะร้อนขึ้นถึงอุณหภูมิสูง ๆ และปลดปล่อยรังสีขนาดใหญ่ที่สามารถตรวจจับได้จากกล้องโทรทรรศน์ที่โคจรอยู่รอบโลก [1][2] การสำรวจให้ผลในทางวิทยาศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่าหลุมดำนั้นมีอยู่จริงในเอกภพ[3]

      แนวคิดของวัตถุที่มีแรงดึงดูดมากพอที่จะกันไม่ให้แสงเดินทางออกไปนั้นถูกเสนอโดยนักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นชาวอังกฤษ จอห์น มิเชล[4] ในปี 1783 และต่อมาในปี 1795 นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ปีแยร์-ซีมง ลาปลาส ก็ได้ข้อสรุปเดียวกัน [5][6] ตามความเข้าใจล่าสุด หลุมดำถูกอธิบายโดยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ซึ่งทำนายว่าเมื่อมีมวลขนาดใหญ่มากในพื้นที่ขนาดเล็ก เส้นทางในพื้นที่ว่างนั้นจะถูกทำให้บิดเบี้ยวไปจนถึงศูนย์กลางของปริมาตร เพื่อไม่ให้วัตถุหรือรังสีใดๆ สามารถออกมาได้

      ขณะที่ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไปอธิบายว่าหลุมดำเป็นพื้นที่ว่างที่มีความเป็นเอกภาวะที่จุดศูนย์กลางและที่ขอบฟ้าเหตุการณ์บริเวณขอบ คำอธิบายนี่เปลี่ยนไปเมื่อค้นพบกลศาสตร์ควอนตัม การค้นคว้าในหัวข้อนี้แสดงให้เห็นว่านอกจากหลุมดำจะดึงวัตถุไว้ตลอดกาล แล้วยังมีการค่อย ๆ ปลดปล่อยพลังงานภายใน เรียกว่า รังสีฮอว์คิง และอาจสิ้นสุดลงในที่สุด [7][8][9] อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำอธิบายเกี่ยวกับหลุมดำที่ถูกต้องตามทฤษฎีควอนตัม

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/