ควอซาร์ วัตถุที่ปล่อยพลังงานมหาศาล แกนกลางอาจเป็นหลุมดำ! | ดาราศาสตร์

แกลเลอรี่ภาพของเควซาร์จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิ
Quasars (QUASi-stellAR objects)

      ควอซาร์ (วัตถุเสมือนดาวฤกษ์) มันอยู่ใกล้ขอบของจักรวาล ค้นพบในปี 1963 นักดาราศาสตร์ประหลาดใจว่า วัตถุดังกล่าวซึ่งเปล่งแสงได้ใกลหลายพันล้านปีแสง จะต้องปล่อยพลังงานออกมาจำนวนมหาศาล

แล้วควอซาร์ใช้พลังงานมาจากไหน? หลายคนเชื่อว่า ใจกลางควาซาร์เป็นหลุมดำยักษ์ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่เกิดจากก๊าซ, ฝุ่นและดาวที่ตกลงไป (ตกลงไปในหลุมดำ จึงเกิดการระเบิด)

      แกลเลอรี่ภาพของเควซาร์จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบินี้ แสดงที่อยู่อาศัยของมัน
ควอซาร์ปรากฏตัวเป็นเหมือนวัตถุดาว แต่มีหอกแหลมที่แตกกระจายตัว(ดังภาพ)

      ภาพในศูนย์และขวามือคอลัมน์เปิดเผยควอซาร์ที่เกี่ยวข้องกับชนกระจัดกระจายและกาแลกซี่รวมซึ่งควรให้ความอุดมสมบูรณ์ของเศษเล็กเศษน้อยที่จะเลี้ยงหลุมดำหิว

ชื่อบทความ A Quasar Portrait Gallery
Credit J. Bahcall (IAS, Princeton), M. Disney (Univ. Wales), NASA
ที่มา http://apod.nasa.gov/

ข้อมูลด้านล่างนี้ มาจาก Wikipedia


      เควซาร์ หรือ เควเซอร์ (อังกฤษ: quasar; IPA: /ˈkweɪzɑr/) เป็นคำย่อของคำว่า Quasistellar Radio Sources หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แหล่งกำเนิดของคลื่นวิทยุคล้ายกับดวงดาว ถูกค้นพบเมื่อทศวรรษที่ 1960 ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ เริ่มแรกเควซาร์ไม่มีหลักฐานระบุแน่นอนว่าคืออะไร แต่จากที่นักดาราศาสตร์ได้สำรวจและค้นพบ เควซาร์คือวัตถุที่มีแสงสว่างเจิดจ้าเป็นอย่างมาก อยู่ห่างไกลจากโลกด้วยระยะทาง 100,000,000 ปีแสง หรือมีระยะทางมากกว่า 60,000,000 ไมล์ เคลื่อนที่ในอวกาศด้วยความเร็วสูงประมาณ 177,000 ไมล์ต่อวินาที ซึ่งเป็นความเร็วเกือบเท่ากับแสง

      เควซาร์อยู่ห่างไกลจากโลกเป็นอย่างมาก จึงมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นวัตถุที่ก่อกำเนิดขึ้นในห้วงอวกาศ ในยุคของการเริ่มแรกแห่งยุคประวัติศาสตร์ของเอกภพ ซึ่งแสงเจิดจ้าที่ได้รับจากเควซาร์นี้ ได้เดินทางมาในห้วงอวกาศด้วยระยะเวลาหลายสิบล้านปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก เควซาร์อาจจะเดินทางในห้วงอวกาศมายาวนานก่อนที่โลกจะถือกำเนิดขึ้น และจากการศึกษาล่าสุดของนักดาราศาสตร์ได้ระบุว่า เควซาร์คือวัตถุมวลขนาดใหญ่ที่มีลักษณะคล้ายกับดาวฤกษ์ คือมีแสงสว่างในตัวเอง แต่เควซาร์แตกต่างจากดาวฤกษ์ตรงที่มีแสงสว่างมากกว่าถึง 1,000 เท่า และไม่สามารถระบุตำแหน่งในห้วงอวกาศได้อย่างแน่นอน เควซาร์อาจจะมีขนาดใหญ่โตมโหฬารใกล้เคียงกับระบบสุริยะของโลกหรือใหญกว่าเป็นหลายร้อยเท่า และหมุนด้วยความเร็วราว 153,000 ไมล์/วินาที (250,000 กิโลเมตร/วินาที) เควซาร์ อาจจะเป็นแกนของดาราจักรใหม่ที่กำลังก่อตัวอยู่ หรืออาจจะเป็นศูนย์กลางของหลุมดำก็ได้