ในบรรดาลัทธิทั้ง 3


ในสมัยต่างๆ


[๑๓๘๔] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า
จักเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจออก ...
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ...
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักตั้งจิตมั่นหายใจออก ...
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ...
หายใจเข้า ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร?

เพราะเราไม่กล่าวซึ่งการเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ
สำหรับผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ

เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ ในสมัยนั้น
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
.....................
บาลีสยามรัฐ เล่ม ๑๘

เครื่องผูกพันสัตว์


เครื่องผูกพันสัตว์
.....
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ !
อะไรเป็นเครื่องผูกพันเทวดา
มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ทั้งหลาย ...
จอมเทพ !
ความอิจฉา (อิสสา) และความตระหนี่ (มัจฉริยะ) นั่นแล
เป็นเครื่องผูกพันเทวดา มนุษย์ อสูร นาค
คนธรรพ์ทั้งหลาย อันมีอยู่เป็นหมู่ๆ (ซึ่งแต่ละหมู่)
ปรารถนาอยู่ว่า เราจักเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก
ไม่มีการเบียดเบียนแก่กันและกัน แต่แล้วก็ไม่สามารถ
จักเป็นผู้อยู่อย่างผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก
ไม่มีการเบียดเบียนแก่กันและกันได้. ....
.......
(บาลี) มหา. ที. ๑๐/๓๑๐/๒๕๕.