ดาวเทียม Fermi ของนาซ่า ค้นหาความลับของ Starquakes ในพายุแม่เหล็ก

ดาวนิวตรอนปล่อยพลังงานสูง
      กล้องโทรทรรศน์อวกาศของดาวเทียมFermi ตรวจจับพายุรุนแรงที่มีพลังงานสูงได้ จากดาวนิวตรอนที่มีสนามแม่เหล็กสูง หรือที่เรียกว่า 'ดาวเคราะห์แม่เหล็ก' (Magneter) เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2009 ตอนนี้นักดาราศาสตร์กำลังวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากสัญญาณที่มาจากดาวเคราะห์แม่เหล็กนี้

      สัญญาณดังกล่าวตรวจจับได้ครั้งแรกเมื่อ 40 ปีก่อน ซึ่งเกิดสัญญาณนี้ขึ้นในช่วงที่'พลุไฟยักษ์กำลังจางหาย'  พลุไฟยักษ์นี้ ถูกค้นพบเพียง 3 ครั้ง คือในปี 1979, 1998 และ 2004 สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับ Starquakes ที่เกิดจากดาวนิวตรอนนี้ ที่เสียงเหมือนกระดิ่ง(ฺBell) เราเคยพบมาแล้ว 2 ครั้ง

วิดีโอการเกิดพลุยักษ์ ที่เกิดจากดาวแม่เหล็ก (ดาวนิวตรอน)

      ดาวนิวตรอนเป็นดาวที่มีความหนาแน่นมากที่สุด มีสนามแม่เหล็กสูงที่สุด และมันหมุนเร็วที่สุดในจักรวาล มวลของมันเล็กมาก เส้นผ่านศูนย์กลางของมัน เพียงราวๆ 18 กิโลเมตรเท่านั้น

      ดาวนิวตรอนจะมีสนามแม่เหล็กเข้มข้นกว่าโลกเป็นล้านล้านเท่า นักดาราศาสตร์ได้ยืนยันว่าค้นพบดาวนิวตรอนแล้ว 23 ดวง

      เปลือกของดาวนิวตรอนจะถูกล็อคไว้โดยสนามแม่เหล็กของมันเอง หากสนามแม่เหล็กของมันหยุดชะงักเพียงนิดเดียว จะทำให้เปลือกดาวแตกร้าว แล้วสนามแม่เหล็กจะต้องจัดเรียงใหม่ เหตุการณ์นี้ทำให้มันปล่อยพลังงาน(ระเบิด)ออกมาอย่างมหาศาล จะพิมพ์คลื่นรังสีแกมม่าและรังสีเอ็กอีกด้วย

      การเรียนรู้ครั้งใหม่ถูกตรวจจับได้โดยดาวเทียม Fermi และมันยืนยันว่าการสั่นสะเทือนที่้เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ เป็นผลมาจากการระเบิดนี้ ทีมงานของยานFermiกล่าวว่า "เราคิดว่าดาวนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดการบิดตัวที่ผิวและแกนดาว และสนามแม่เหล็กก็เกิดการแกว่งเช่นเดียวกัน" มีทีมงานพูดเสริมต่อว่า "นอกจากนี้เรายังพบการสั่นสะเทือนแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน และตอนนี้เราก็ยังไม่เข้าใจมัน

      ปี 2009 เกิดการระเบิดขึ้นที่ SGR J1550-5418 ค้นพบโดย'หอดูดาวไอสไตน์'ของนาซ่า (ซึ่งเปิดใช้ในช่วงปี 1978 - 1981) การระเบิดนี้ อยู่ห่างประมาณ 15,000 ปีแสง ทางกลุ่มดาวNorma ในช่วงที่มีการรระเบิดนี้ บางช่วงเกิดดการระเบิดขึ้นนับร้อยครั้งในเวลา 20 นาที การระเบิดที่ปล่อยพลังงานมากที่สุด พลังงานนั้นมีค่ามากกว่าพลังงานที่ปล่อยออกมาจากดวยอาทิตย์เป็นเวลา20ปี