ยานลงจอด Philae ของยานอวกาศ Rosetta | ดาราศาสตร์


      ยานลงจอดของยานอวกาศ Rosetta โดยสมาคมยุโยป ภายใต้การนำของ "สถาบันวิจัยการบินอวกาศเยอรมัน" (German Aerospace Research Institute : DLR) และสมาคมอื่นๆ คือ ESA และสถาบันจาก ออสเตรีย, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, ฮังการี, ไอร์แลนด์, อิตาลี และสหราชอาณาจักร

      ยานลงจอดรูปทรงสี่เหลี่ยม จะถูกติดไว้ด้านข้างของยานอวกาศ จนกระทั้งยานอวกาศมาถึงดาวหาง 67P เมื่อยานอวกาศ'Rosetta' ได้มาถึงและอยู่ตำแหน่งที่พอเหมาะแล้ว มันจะประมวลผลการลงจอด แล้วปลดล็อคยานลงจอด'Philae' ยานลงจอดจะกางขา 3 ขา แล้วก็ลงจอดบนดาวหาง

      หลังจากที่ลงจอดได้ Philaeจะยิงตะขอยึดตัวเองไว้กับพื้นผิวดาวหาง ป้องกันการปลิว เนื่องจากดาวหางมีแรงโน้มถ่วงที่น้อยมาก นี้คือเป้าหมายในสัปดาห์แรก แต่การสำรวจดาวหางนี้ ยังคงดำเนินงานอีกหลายเดือน


ยานลงจอดชื่อ 'Philae'
      โครงสร้างของยานลงจอดประกอบด้วยแผ่นฐาน, ที่เก็บอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดที่ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ ผนังของยาน ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) มีเสาอากาศจะส่งข้อมูลไปยังโลกผ่านทางยานอวกาศ ยานลงจอดนี้ มีชุดเครื่องมือทดสอบ 9 ชนิด มีน้ำหนักรวมประมาณ 21 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังดำเนินการขุดเจาะ หาตัวอย่างของวัสดุดิน (รวมมีเครื่องมือถึง 10 ชนิด)

อุปกรณ์ของยานลงสำรวจ
APXS : Alpha Proton X-ray Spectrometer (ใช้ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของดาวหาง)

CIVA : Comet Nucleus Infrared and Visible Analyser (กล้องถ่ายภาพ 6 ตัว เพื่อถ่ายภาพพาโนรามาของพื้นผิวของดาวหาง)

CONSERT : COmet Nucleus Sounding Experiment by Radiowave Transmission (ใช้ศึกษาโครงสร้างภายในของนิวเคลียสดาวหางกับยานอวกาศ Rosetta)

COSAC : The COmetary SAmpling and Composition (ตรวจจับและระบุโมเลกุลอินทรีย์ที่ซับซ้อน)

PTOLEMY : Using MODULUS protocol (วิธีการคำนวณและทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบของแสง จากองค์ประกอบไอโซโทปที่เสถียร) เพื่อทำความเข้าใจองค์ประกอบแสงทางธรณีวิทยา เช่นไฮโดรเจน คาร์บอน ไนโตรเจน และออกซิเจน

MUPUS : MUlti-PUrpose Sensors for Surface and Sub-Surface Science (ศึกษาคุณสมบัติของพื้นผิวของดาวหาง และใต้ผิวดิน)

ROLIS : Rosetta Lander Imaging System  (ถ่ายภาพแบบใกล้ชิด ในขณะที่ยานลงจอด)

ROMAP : Rosetta Lander Magnetometer and Plasma Monitor (ศึกษาสนามแม่เหล็ก และสภาพแวดล้อมของดาวหาง)

SD2 : Sampling, drilling and distribution subsystem (เจาะได้ลึกถึง 23 ซม. และนำวัสดุไปวิเคราะห์)

SESAME : Surface Electric Sounding and Acoustic Monitoring Experiment (พิสูจน์พารามิเตอร์ทางกลและทางไฟฟ้าของดาวหาง)

ที่มา http://www.esa.int/ และ http://apod.nasa.gov/