จันทรุปราคา ถ่ายที่ชายฝั่งแปซิฟิก



      จากภาพ ด้านล่างของทะเลหมอกนี้ เป็นมหาสมุทรแปซิฟิก, ชายฝั่งชิลี เป็นบรรยากาศของท้องฟ้ายามเช้าตรู่ ขณะที่กำลังเกิดกบกินเดือนไปแล้วประมาณครึ่งหนึ่ง ขอบโค้งของเงิลกตัดกับดวงจันทร์ได้อย่างสวยงาม จริงๆแล้ว บริเวณซีกโลกใต้ เกิดจัทรุปราคาได้สมบูรณ์พอๆกับบริเวณทวีปอเมริกาเหนือ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นช่วงก่อนดวงอาทิตย์จะขึ้นและดวงจันทร์กำลังจะตก ในวันที่ 8 ตุลาคม 2014

      จันทรุปราคา (ชื่ออื่น เช่น จันทรคาธ, จันทรคราส, ราหูอมจันทร์ หรือ กบกินเดือน; อังกฤษ: lunar eclipse) เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์ผ่านหลังโลกเข้าสู่อัมบรา (umbra) โดยตรง ซึ่งเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์เรียงตรงกันพอดีหรือใกล้เคียงมาก โดยมีโลกอยู่กลาง ชนิดและระยะของอุปราคาขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์เทียบกับปมวงโคจร (orbital node)

      จันทรุปราคาสามารถดูได้จากทุกที่ในฝั่งกลางคืนของโลก ซึ่งต่างกับสุริยุปราคาซึ่งมองเห็นได้จากพื้นที่ค่อนข้างเล็กของโลก จันทรุปราคากินเวลาเป็นชั่วโมง ขณะที่สุริยุปราคาเต็มดวงกินเวลาเพียงไม่กี่นาทีในที่หนึ่ง ๆ เนื่องจากเงาของดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่า นอกจากนี้ จันทรุปราคายังสามารถดูได้โดยไม่ต้องมีสิ่งป้องกันดวงตาหรือการป้องกันเป็นพิเศษ เพราะมืดกว่าจันทร์เพ็ญ


Eclipse at Moonset
Image Credit & Copyright: Yuri Beletsky (Las Campanas Observatory, Carnegie Institution)
ที่มา apod.nasa.gov
ศึกษาจันทรุปราคาเพิ่มเติม คลิ๊ก